หน้าเว็บ

ลายกนกไทย

        กระจังฟันปลา 

     ผันปลา หรือกระจังฟันปลา ทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีรูปเป็นสามเหลี่ยมยอดเรียวแหลม เป้นที่มาของกระจังตาอ้อย หรือกระจังใบเทศ ถือเป็นกระจังตัวต้นหรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่าเป็นตัวอย่างของกระจังใบเทศ และกระจังตาอ้อยก็ได้ เพราะว่าเมื่อเขียนบัวหงายหรือบังคว่ำ เมื่อย่อเล็กที่สุดก็ใช้กระจังฟันปลาแทน กระจังฟันปลาเป็นลายติดต่อได้ทั้งซ้าย และขวา (กระจังฟันปลามีซ้อน หนึ่ง-สอง-สามฯ แต่ในที่นี้จะใช้เฉพาะเรื่องการใช้ลายเท่านั้น)


     กระจังตาอ้อย



     ตาอ้อย หรือกระจังตาอ้อย ทรงตัวอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีทรงตัวเส้นอ่อนเรียวทั้งซ้าย และขวาปลายยอดแหลมมีบาก (คือหยัก) ทั้งสองข้าง เมื่ออยู่เฉพาะตัวเดี่ยวๆเรียกว่าตาอ้อย เมื่อเข้าประกอบเป็นลายติดต่อซ้ายและขวา เช้น เขียนเป็น ลายบัวหงายบัวคว่ำเป็นตัวอย่างของใบกระจังเทศ เช่นเดียวกับ กระจังฟันปลา แต่เป็นตัวย่อตัวที่สองรองจากกระจังฟันปลา เป็นลายติดต่อซ้ายและขวา

         กระจังใบเทศ

   กระจังใบเทศมีทรงภายนอกอ่อนเรียวเหมือนกระจังตาอ้อย อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าเช่นเดียวกัน แต่ภายในตัวมีสอดไส้แต่ หนึ่ง-สอง-สาม ขึ้นไป กระจังใบเทศมีวิธีแบ่งตัวได้ หรือสอดไส้ได้หลายวิธี เมื่อตัวยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งแบ่งตัวมากขึ้น และใส่ตัวซ้อนมากขึ้น การแบ่งจังหวะรอบตัวของกระจังใบเทศนี้ เรียกว่า “แข้งสิงห์” เมื่อตัวกระจังใบเทศใบยิ่งโตขึ้นเท่าใด แข้งสิงห์ก็จำต้องแบ่งตัวตามขึ้นไปด้วย การแบ่งแข้งสิงห์ให้เป็นลำดับติดต่อกันไม่ได้ ก็เท่ากับเขียนกระจังใบเทศไม่เป็น

       วิธีแบ่งแข้งสิงห์

   ทรงของแข้งสิงห์อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม หรือยาวกว่ารูปสี่เหลี่ยมทแยงมุมเล็กน้อย แต่ต้องไมแคบกว่าสี่เหลี่ยมทแยงมุม วิธีแบ่งแข้งสิงห์ตามลำดับ(ดูแบบ)
ตัวหนึ่งมีบาก
ตัวที่สองมีบากและมีขมวด
ตัวที่สามและตัวที่สี่มีสอดไส้และบาก
ตัวห้ามีขมวดและแบ่งสิงห์ซ้อน
ตัวหกมีกาบอ่อน(แข้งสิงห์ตัวต้น) ละมีสอดไส้ และมีแข้งสิงห์ซ้อนแข้งสิงห์
ตัวเจ็ดเป็นวิธีแบ่งแข้งสิงห์ตัวที่สุด
เมื่อถึงยอดก็ต้องทำยอดสบัดเป้นตัวกนก (ตัวหนึ่งไม่ได้แสดงเอาไว้เมื่อเอาไว้ขมวดตัวสองออกก็เป็นตัวที่หนึ่ง)
   
    กระจังหู กระจังหูหรือกระจังปฏิญาณ มีทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างสองส่วน สูงสามส่วน(ดูแบบ)ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาอีกครึ่งส่วนซ้ายและขวา มีตาอ่อนหรือกระจังใบเทศห้าม แต่ภายในตอนล่างมีกาบทั้งซ้ายและขวา เช่นเดียวกับกระจังใบเทศ วิธีแบ่งตัวมีเป็นลำดับคล้ายกระจังใบเทศ ตัวโตขึ้นก็มีการแบ่งตัวมากขึ้นไป

    กระจังรวน

กระจังรวน มีส่วนเหมือนกระจังหูทุกส่วน ตลอดจนแบ่งตัวทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมด แต่ใช้ยอดลงปลายยอด(ยอดเฉ)ยอดบัดไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ เป็นลายติดต่อซ้ายขวา
กระจังหูหรือกระจังปฏิญาณ มีทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้


     
พุ่มทรงข้าวบิณฑ

ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีส่วนกว้างสองส่วน สูงสามส่วน วิธีเขียน สองส่วนตอนบนเขียนอย่างใบกระจังเทศแต่ให้สั้น เอายอดลงต่อกับตอนบน เท่ากับเขียนกระจังใบเทศสองตัวกัน รอบตัวของพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีแบ่งแข้งสิงห์เหมือนกับกระจังเทศ แต่ตอนที่แข้งสิงห์ต่อกัน ระหว่างตอนบนกับตอนล่างน้นใส่ตัวห้าม พุ่มทรงข้าวบิณฑใช้เป็นี่ออกลายเป็นลายดอกลอย และยังใช้เข้าประกอบกับลายอื่นๆ ได้อีก
   ประจำยาม 

ลายประจำยาม ทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม ประกอบด้วยวงกลมกับตัวกระจังใบเทศ ถ้าเป็นตัวย่อเล็กก้ใช้กระจังตาอ้อนแทน ลายประจำยาม ไม่เฉพาะแต่ใช้กระจังใบเทศ จะใช้กระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑก็ได้ ลายประจำยามอยู่ในจำพวกดอกลอยและใช้เป้นแม่ลาย คือที่ออกลายหรือใช้เป็นที่ห้ามลาย
     รักร้อย 

ลายรักร้อยประกอบด้วย ลายประจำยามและกระจังใบเทศ หรือกระจังตาอ้อยลายรักร้อย ใช้ลายประจำยามเป็นที่ออกลาย เอากระจังใบเทศหรือกระจังตาอ้อยเรียงต่อกันไปทั้งซ้ายและขวาจนถึงที่ๆต้องการ ลายรักร้อยเป้นลายช่วยประกอบกับลายอื่นๆ โดยมากไม่มีใช้เฉพาะตัวของมันเอง ถ้าเป้นลายรักร้อยใหญ่ ใช้วิธีแบ่งตัวเหมือนกระขังใบเทศหรือจะเอาวิธีแบ่งตัวของกระจังหูมาใช้ก็ได้

    บัวหงาย และ บัวคว่ำ 

บัวหงายและบัวคว่ำ ประกอบด้วยกระจังตาอ้อย หรือกระจังใบเทศ ใช้เขียนต่อกันไปทั้งซ้ายและขวา จนถึงที่เราต้องการ แล้วใช้กระจังใบเทศ ใช้เขียนต่อกันไปทั้งซ้ายและขวา จนถึงที่เราต้องการ แล้วใช้กระจังครั้งตัวห้ามทั้งสองข้าง ระหว่างตัวที่ว่างใช้กระจังแทรก ตัวแทรกนี้คือตัวกระจังนั้นเอง เอาเฉพาะตอนยอดของกระจังมาใส่ถ้าเป็นลายยังขนาดโตก็ใช้ตัวแทรกขึ้นไปเป้นลำกับลายบัวหงาย-บัวคว่ำ เป็นชายช่วยประกอบลายอื่นๆ ไม่มีใช้เฉพาะตัวของมันเอง หมายเลข๑บัวหงาย หมายเลข๒บังคว่ำ

     ช่อแทงลาย และ กรุยเชิง 

ช่อแทงลาย คือเอาตัวกระจงใบเทศเขียนทรงตัวให้สูงขึ้น หรือ ทรงยาวเพรียวขึ้นประมาณสองส่วนของส่วนกว้าง ที่ว่างใส่ตัวแรก ถ้าใส่แทรกตัวหนึ่งแล้วยังมีที่ว่างใส่ได้อัก วิธีแบ่งตัวทำเช่นเดียวกับลายบัวหงายบัวคว่ำ วิธีประประดิษฐ์ลายช่อแทงลาย เอากระจังหูหรือพุ่มทรงข้าวบิณฑมาใช้ก็ได้
กรุยเชิง ก็ใช้กระจังใบเทศ หรือกระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑ มาเขียนทรงให้ยาวประมาณสามส่วน และต่อยอดยาวเป็นเส้นอย่างกรุ่ยผ้า ใช้ให้ยาวไปเท่าใดก็ได้แล้วแต่จะเหมาะสม แต่ต้องให้ยอดลง ถ้าจะใช้กระจังหูหรือพุ่มทรงข้าวบิณฑมาประดิษฐ์เป็นกรุยเชิงการใส่ตัวแรกแทรกใช้ต่างกัน คือใช้ตัวแทรกไม่ทับกัน ใช้ตัวแทรกมาก้านต่อ(ดูแบบลายกรุยเชิงที่ประกอบครบถ้วน)ช่อแทงลาย หรือ กรุยเชิงนี้ เป็นลายช่วยประกอบลายอื่นเฉพาะตัวของมันเอง


    นกสามตัว 

กนกสามตัวจัดว่าเป็นแม่ลายที่สำคัญมาก เท่ากับเป็นแม่บทของกนกต่างๆทุกชนิดเพราะกนกทุกชนิดก็ได้แยกออกไปจากนกสามตัวและตอนยอดก็ใช้เหมือนกนกสามตัวให้อ่อนลื่นลงไป กาบบนคงใช้ตามทรงเดิมของกนกสามตัวการเขียนกนกตัวอื่นๆก็คล้ายคลึงกัน มีเพิ่มกาบมากบ้างน้อยบ้าง และบางตัวกนกก็ใช้ขมวดยอดลายและกาบ ก็เกิดเป็นรูปตัวกนกต่างๆแต่ทรงของตัวกนกคงเหมือนเดิมกับกนกสามตัวทั้งนั้นฉะนั้น การฝึกหัดเขียนจำต้องเขียนให้จำได้แม่นยำจริงๆ เมื่อจำกนกสามตัวได้แน่นนอนแล้ว การเขียนตัวกนกอื่นๆต่อไปก็จะจำได้ง่าย 
วิธีฝึกหัดเขียนที่ดี ใช้ว่าเพียงแต่จำทรงตัวกนกได้แบ่งกาบถูกต้อง ทำยอดกนกได้ดีเท่านั้น จำจะต้องเขียนตัวกนกให้ยอดหันเหไปได้รอบตัว โดยไม่ต้องหมุนกระดาษที่เขียนไปคือเขียนตัวกนกให้ยอดลง ให้ยอดไปข้างซ้ายหรือข้างขวา หรือยอดให้เฉียงไปทางใดก็ได้นอกจากนี้ยังต้องเขียนกนกย่อ และขยายให้เล็กโตเท่าใดก็ได้ตามความต้องการ จึงจะจัดว่าเขียนตัวกนกได้ดี 
และตัวกนกมีความสำคัญอยู่อีกประการหนึ่ง เช่น กนกสามตัวๆที่สามคือกาบบนกาบล่างที่ซ้อนกันอยู่ในตัวกนกนั้น เมื่อถึงการประดิษฐ์ลายก็แยกเอากาบเหล่านี้มาประกอบสลับติดต่อกัน มีกาบเล็กบ้างโตบ้าง ก็จะเกิดเป็นเถาลายขึ้น ความสำคัญของตัวกนกมีอยู่ดังนี้ การฝึกหัดเขียนที่ดีควรทวนความจำทุกวันไม่มากก็น้อย



       กนกเปลว 

กนกเปลวมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่กาบล่างของกรกเปลวต่างกัน ไม่มีแง่หยักเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เขียนลื่นๆและการสอดไส้กาบ คือการแบ่งกาบก็ต่างกัน ส่วนกาบบนและยอดคงเหมือนกับกนกสามตัว ส่วนกาบล่างแบ่งต่างกันการฝึกหัดคงเหมือนกนกสามตัวทุกอย่าง

     กนกใบเทศ

กนกใบเทศมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่การแบ่งตัวของกนกใบเทศ ใช้ใบเทศเกาะติดอยู่กับก้าน หรือเป็นแข้งสิงห์เกาะอยู่กับก้านก็ได้ แต่การวางจังหวะใบเทศหรือแข้งสิงห์จะต้องให้อยู่ในทรงของกาบกนกสาตัว ฉะนั้น เมื่อจะวางแข้งสิงห์หรือตัวใบเทศจะต้องร่างทรงกาบของกนกสามตัวเสียก่อน แล้วจึงวางใบเทศหรือแข้งสิงห์ ส่วนตัวยอดเขียนให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว วิธีแบ่งใบเทศ แบ่งตัวอย่างกระจังใบเทศ ถ้าจะทำให้เป็นแข้งสิงห์(ดูแบบตัวที่สาม) การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตัว




     เทศหางโต 

เทศหางโต หรือ หางโต มีลักาณะรูปร่างเหมือนกนกใบเทศตลอดจนส่วนประกอบก็เช่นเดียวกัน แต่ผิดกันก็ตอนบนของหางโต ใช้ทรงพุ่มทรงข้าวบิณฑต่อจากก้านหรือจะใช้ใบเทศต่อก้านก็ได้ เมื่อถึงตอนยอดก็ให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เทศหางโต หรือ หางโต เมื่อเข้าลายหรือผูกลายจะใช้ปนกับกนกใบเทศก็ได้การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตัว



ปุ่มแชร์